
ดร.กานดา บุญโสธรสถิตย์
Business and Process Developerดร.กานดา มีความเชี่ยวชาญทางด้านการพัฒนาธุรกิจและกระบวนการ ร่วมกับการจัดการโซ่อุปทาน (Supply Chain) โลจิสติกส์ (Logistics) และการดำเนินงาน (Operations) รวมไปถึงการจำลองรูปแบบความคิดเชิงระบบ (ทางธุรกิจ) กลยุทธ์และศักยภาพด้านการแข่งขัน โดยมุ่งเน้นการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) อันนำมาสู่ต้นทุนที่ต่ำลง เวลานำ (Lead time) ที่สั้นลง และคุณภาพของสินค้าและบริการที่ดีขึ้น
นอกจากนี้ ดร.กานดา มีความชื่นชอบกับการเขียนพ็อคเก็ตบุ๊ค โดยผลงานเล่มแรก คือ “เรียนเป็นที่โหล่ โผล่เป็นนักเรียนทุน(เมืองนอก)” สู่การเป็นนักสร้างแรงบันดาลใจด้านการศึกษาให้กับนักเรียนและนักศึกษาตามสถาบันการศึกษาต่างๆ ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จนกลายเป็นหนังสือขายดีและหนังสือแนะนำ อีกทั้งได้รับเชิญให้ออกรายการต่างๆ อาทิเช่น Lightning Talk กับ สายสวรรค์ ขยันยิ่ง ช่อง 3 family ผู้หญิงถึงผู้หญิง ช่อง 3 family โฮมรูม ช่อง Thai PBS ข่าวข้นรับอรุณ ช่วงตอมแมลงวัน ช่อง nation ผู้หญิงรู้จริง ช่อง S Channel และเปิดเล่ม ช่อง IPM 23

รศ.ดร.ชิต เหล่าวัฒนา
Institute of Field Robotics Founderดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO) เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากวงการอุตสาหกรรมไทย ในฐานะนักวิชาการด้านเทคโนโลยีหุ่นยนต์ การประยุกต์ใช้งานหุ่นยนต์ รวมถึงด้าน IT Strategy Planning และ Technology Investment นอกเหนือจากงานสอนที่ ฟีโบ้ มจธ. ดร.ชิต เป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานของรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) และทำหน้าที่กรรมการเร่งรัดนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษคลัสเตอร์หุ่นยนต์ ซึ่งจัดเป็นหนึ่งใน New S-Curve ของอุตสาหกรรมไทย
โดยดร.ชิต ได้เสนอรูปแบบของ Incentive ที่เอื้อต่อกับการลงทุนในประเทศ สนับสนุนการเกิดขึ้นของกิจกรรม Tech Startup ของคนรุ่นใหม่ และผลักดันการทำ Joint Venture และ Merger and Acquisition ระหว่างบริษัทข้ามชาติและบริษัทคนไทย ซึ่งเป็นกลไกสำคัญทำให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเป็นขั้นตอนที่นำไปสู่การที่คนไทยจะเป็นเจ้าของบริษัทที่แข็งแกร่งด้านเทคโนโลยี สามารถสร้างผลิตภาพการผลิตในขั้นสูง (High Productivity) จนทำให้ประเทศมีระบบเศรษฐกิจที่ดีแข่งขันได้อย่างแท้จริง ตัวอย่างผลงานอาทิ การประสานความร่วมมือทางธุรกิจระหว่าง บริษัท ฮิราตะ คอร์ปอเรชั่น ผู้ผลิตระบบอัตโนมัติรายใหญ่ของประเทศญี่ปุ่น และบริษัท ยูนิคัล เวิร์คส์ ของประเทศไทย

ดร.ถวิดา มณีวรรณ์
ดร.ถวิดา มณีวรรณ์ ทำงานวิจัยทางด้านหุ่นยนต์ที่สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม(FIBO) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มาตั้งแต่ปีพ.ศ.2543 โดยได้พัฒนาหุ่นยนต์ในหลากหลายรูปแบบ ได้แก่ หุ่นยนต์ NAMO เพื่อใช้ในการต้อนรับและประชาสัมพันธ์ หุ่นยนต์ฮิวมานอยด์ที่มีลักษณะคล้ายมนุษย์ หุ่นยนต์งูแบบมอดูล่าร์ และกลุ่มหุ่นยนต์สำหรับเครือข่ายสื่อสารฉุกเฉินในสถานการณ์ภัยพิบัติ เป็นต้น โดยได้นำแนวความคิดจากสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาหุ่นยนต์ นอกจากนั้นยังพัฒนาหุ่นยนต์ในเชิงอุดสาหกรรมต่างๆให้กับภาคเอกชนและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ด้านการบริการและการตรวจสอบซ่อมบำรุง เช่นหุ่นยนต์ทำความสะอาดท่อแอร์ หุ่นยนต์ตรวจสอบหม้อไอน้ำ และหุ่นยนต์เคลื่อนที่ภายในท่อ ดร.ถวิดาเป็นที่ปรึกษาอาวุโสของสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทย และได้มีส่วนร่วมอย่างมากในการส่งเสริมกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์รายการต่างๆในประเทศตลอดระยะเวลาสิบปีที่ผ่านมา รวมทั้งได้มีความพยายามในการผลักดันให้เกิดธุรกิจทางด้านหุ่นยนต์ประเภทต่างๆขึ้นในประเทศอีกด้วย

ดร.บุญฑริกา เกษมสันติธรรม
Logistics/Operation Optimization, Scheduling, Energy Efficiency, Business Analyst, Funding Port Management, Technology Managementboontariga.kas@fibo.kmutt.ac.th
ดร.บุญฑริกา เชี่ยวชาญเทคนิคการหาจุดคุ้มทุนหรือจุดเหมาะสม (Optimization) ในการลงทุนและดำเนินธุรกิจ ทั้งธุรกิจด้านเทคโนโลยี การผลิต และการบริการ รวมทั้งการเลือกใช้และบริหารทรัพยากร และการจัดกระบวนการให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Logistics/Operation Management) เป็นที่ปรึกษาในการวิเคราะห์กระบวนการทางธุรกิจ (Business Analyst) ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มาปรับปรุงกระบวนการด้านโลจิสติกส์ให้แก่ โรงพยาบาล และบริษัท Wellness ที่ให้บริการด้านสุขภาพอย่างครบวงจร สนใจการวิเคราะห์ความเหมาะสมในการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ (Robots&Automations) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) มายกระดับขีดความสามารถของธุรกิจ โดยการเพิ่ม ประสิทธิภาพ (Efficiency) ในกระบวนการผลิตหรือการบริหารข้อมูลด้านโลจิสติกส์ภายในองค์กร และต่อเนื่องไปถึงการเพิ่มผลิตภาพ (Productivity) ของธุรกิจ อีกด้านหนึ่งของการใช้เทคนิค Optimization ในการจัดเรียงกระบวนการตามลำดับความสำคัญ (Scheduling) ในสายการผลิต และการบริการ มีประสบการณ์ในการทำวิจัยด้าน Logistic Optimization ให้กับบริษัทจัดส่งของหลักในอเมริกา และทำวิจัยด้าน Fleet Scheduling Optimization ให้บริษัทการบินเชิงพาณิชย์ในประเทศ และเชี่ยวชาญด้านการจัดหาแหล่งทุนสนับสนุนการเริ่มธุรกิจเทคโนโลยี
จากโอกาสที่ได้เข้าไปเรียนรู้งานวิจัยด้านพลังงานในห้องปฏิบัติการแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาแห่งเบิร์คลี่ย์ ปัจจุบัน ได้ร่วมกับกลุ่มนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์การควบคุมระบบทำความเย็น (HVAC) ในอาคาร มุ่งเน้นการสร้างธุรกิจใหม่ ในอุตสาหกรรมที่ส่งเสริมศักยภาพของเด็กไทยเพื่อตอบโจทย์ (Needs) ของประเทศและระดับอาเซียน เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกลุ่มธุรกิจใหม่ที่สนับสนุน การใช้พลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเริ่มจากการพัฒนาเทคโนโลยีที่ช่วยในการติดตามการใช้พลังงานในระบบ HVAC ในอาคารตามจริง (Real Time Monitoring in HVAC) และออกแบบระบบการควบคุมอัตโนมัติที่เหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ลดการใช้พลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพของระบบทำความเย็นโดยคงความสบาย (Comfort) ในระดับที่เหมาะสม

ดร.ปราการเกียรติ ยังคง
Core Technology Developerดร.ปราการเกียรติ ยังคง เป็นผู้บุกเบิกการทำ Startup เริ่มต้นจากการก่อตั้งห้องปฏิบัติการเสม็ด (SAMeD: Signal Analysis and Medical Devices for Human Movement) พัฒนาหุ่นยนต์ฟื้นฟูการเคลื่อนไหวแขน SensibleTAB ร่วมกับ ผศ.ดร.ภาริส วงศ์แพทย์ หัวหน้าแผนกเวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ การันตีคุณภาพด้วยรางวัลชนะเลิศการออกแบบเชิงนวัตกรรมด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติและรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2557 มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์
นอกจากนี้ ดร.ปราการเกียรติ ยังได้ร่วมพัฒนางานเชิงพาณิชย์ที่น่าสนใจอื่นๆ อีก เช่น หุ่นยนต์จัดยาอัตโนมัติ ระบบป้องกันการตกเตียง และระบบวิเคราะห์การเดิน


ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล
Machine Learning Specialistwarasinee_cha@fibo.kmutt.ac.th
ดร.วราสิณี ฉายแสงมงคล จบการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Yale University ในสาขา Computational Neuroscience และปริญญาตรีจาก Cornell University ปัจจุบันเป็นอาจารย์ในคณะวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ดร.วราสิณี มีความเชี่ยวชาญด้าน Machine Learning และ Big Data Technology ได้มีโอกาสร่วมงานกับธนาคาร หน่วยงานรัฐ และเอกชนหลายแห่งในเมืองไทยในการพัฒนา platform สำหรับการสร้าง machine learning model ที่รองรับข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารธุรกิจและการตลาด นอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้งห้องวิจัย IDEA Lab ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่นำไปใช้จริงในธุรกิจประเภทต่างๆเช่น ธุรกิจการเงิน การลงทุน และ การพาณิชย์

ดร.สุภชัย วงศ์บุณย์ยง
Robotics and Automation in Manufacturingอ.ดร. สุภชัย วงศ์บุณย์ยง มีความสนใจและเชี่ยวชาญงานด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูงและการผลิตอย่างยั่งยืน (Advanced and Sustainable Manufacturing) ดร. สุภชัย จบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาวิศวกรรมการผลิตจาก The University of New South Wales และปริญญาโทและตรีสาขาวิศวกรรมเครื่องกล จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและกิจการต่างประเทศของสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม นอกจากนั้นยังเป็นผู้ก่อตั้งร่วม I AM Research Group ซึ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติที่ตอบโจทย์จริงในภาคอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ อาทิเช่น การผลิต การแพทย์ งานก่อสร้าง เป็นต้น

ดร.อรพดี จูฉิม
Technology Based Business Developerดร.อรพดี จูฉิม มีความสนใจและความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการเทคโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management) การประเมินและการพยากรณ์เทคโนโลยี (Technological Assessment and Forecasting) นวัตกรรมเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาประเทศหรือดำเนินธุรกิจให้ประสบผลสำเร็จ (Business Model Innovation) การเกิดขึ้นของตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) และการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน (Logistics and Supply Chain Management) ดร.อรพดี มีพื้นฐานความรู้ในระดับปริญญาตรีและโททางด้านวิศวกรรมไฟฟ้า เคยเป็นวิศวกรอาวุโสมาหลายปี มีประสบการณ์ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์กำลังและระบบขับเคลื่อนมอเตอร์ จบการศึกษาในระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์และการจัดการ (Economics and Management) จาก Leibniz University Hannover ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานหลักสูตรวิศวกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ดูแลรับผิดชอบในส่วนของกิจกรรมและการเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการเป็นผู้ประกอบการ กิจกรรมการทำงานจริงในสถานประกอบการ (Work Integrated Learning)